Saturday, August 1, 2020

Koolcot 1st VDO Presentation (2018)





บ้านสำเร็จรูป Koolcot
วัสดุที่ใช้สร้าง::
ฉนวนกันความร้อน Polyurethan มีคุณสมบัติไม่อมน้ำ ทนทานไม่ลามไฟ มีความแข็งแรง อายุการใช้งานยาวนาน

กรอบระยะเวลาในการสร้าง
Studio สร้าง 7 วัน
Loft สร้าง 30 วัน
Complex สร้าง 45 วัน

บ้าน Koolcot เป็นระบบน็อคดาวน์ ซึ่งผลิตบางส่วนมาจากโรงงานแล้ว
นำมาประกอบบนพื้นที่ของลูกค้า ทำให้ติดตั้งได้ภายในกรอบเวลาที่กำหนด

บ้าน knockdown Koolcot ดีอย่างไร::

ราคาถูก ติดตั้งเร็ว สะดวก เพราะผลิตชิ้นส่วนมาจาก
ฉนวนกันความร้อน polyurethaneสำหรับห้องเย็น ที่ผลิตมาจากโรงงาน Modular Compopund ได้รับการออกแบบและผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ทำให้บ้านป้องกันความร้อนได้ดี ประหยัดพลังงาน น้ำหนักเบา
นอกจากนั้น บ้าน knockdown Koolcot ติดตั้งระบบถ่ายเทอากาศ ทำให้อากาศภายในบ้านสดชื่น และถ่ายเทอยู่สม่ำเสมอ

Kool Guard คำตอบเย็นๆสำหรับห้องอากาศร้อน



บ้านคุณอากาศร้อนไหม?
โดยเฉพาะคนที่อยู่คอนโดมิเนียม ผมเชื่อว่าส่วนใหญ่แล้วอากาศจะร้อนมากโดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน ที่อาจจะร้อนได้ทั้งปี ปีหน้าและปีต่อๆไป อยู่ในห้องเดินไปไหนก็เหงื่อท่วม ทำอะไรก็ไม่ค่อยสะดวกไม่ค่อยสบายตัว หมดเรี่ยวหมดแรงไม่รู้สึกสดชื่น ขัดแย้งกับภาพที่วาดไว้ก่อนตัดสินใจซื้อคอนโด ซึ่งสาเหตุหลักๆมาจากผนังแบบพรีแคสที่ทำจากคอนกรีต ทำให้ดูดซับความร้อนได้ดี มันไม่ต่างห้องซาวน่าที่มีไอความร้อนสะสม ทำให้ผมรู้สึกเห็นใจผู้อยู่อาศัยฝั่งทิศทิศตะวันตกและทิศใต้* ที่พร้อมต้อนรับการทักทายจากดวงอาทิตย์ตั้งแต่เที่ยงวันถึง 5โมงเย็นเป็นประจำทุกวัน การใช้ชีวิตประจำวันในตอนบ่ายจนค่ำเหมือนการฝึกของนักเรียนเตรียมทหารเป็นอย่างน้อย มิหนำซ้ำกระหน่ำแอร์เท่าไหร่ก็เอาไม่อยู่ ห้องจะอมความร้อนไปจนถึงสามสี่ทุ่ม เรียกว่าห้องๆนึงใช้อยู่อาศัยไม่ได้เลย แม้จะเปลี่ยนเป็นห้องเก็บของ ของก็อาจจะเสื่อมสภาพเพราะความร้อน จ่ายเงินตั้งแพงเพื่อ urban lifestyle ที่นีทและนีช (neat & niche) แต่ตอนย้ายมาอยู่จริงมันทำลายสุขภาพกายและจิตใจมาก

จึงอยากแนะนำผลิตภัณฑ์ game changer มาเพื่อช่วยกำจัด pain point เหล่านี้ “Kool Guard” แผ่นฉนวนกันความร้อนโพลียูรีเทนสำหรับกรุผนังภายในอาคาร ใช้ลดการส่งผ่านความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในห้อง ติดตั้งง่ายรวดเร็วโดยทีมติดตั้งผู้ชำนาญจากโมดูลาร์คอมพาวด์ เราสามารถผลิตแผ่นฉนวนกันความร้อนให้ออกมารับกับผนังตามความต้องการของผู้อยู่อาศัย ด้วยคุณสมบัติของแผ่นฉนวนโพลียูรีเทนซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตห้องเย็น กันความร้อนที่แผ่ออกมาจากผนัง ได้มากกว่า 90% โดย K-Factor (ค่าการนำความร้อน) = 0.017 ~ 0.024 W/MK ซึ่งมีค่าต่ำเสมือนสูญญากาศ ทำให้กันความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นค่าการซึมของน้ำไม่เกิน 2% ทำให้ปลอดเชื้อรา แบคทีเรียและกลิ่นเหม็นอับ ไม่ลามไฟ ไม่มีสารพิษเจือปน ป้องกันสัตว์จำพวกหนูและแมลงไม่ให้รบกวน น้ำหนักเบาติดตั้งง่าย ไม่มีการยุบตัว ลดเสียงดังควบคุมการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ และที่สำคัญที่สุด ช่วยประหยัดพลังงานทำให้ค่าไฟในหน้าร้อนลดลงมาแบบจับต้องได้

*หลายท่านอาจจะทราบดีอยู่แล้วว่าพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและเคลื่อนไปสู่ทิศตะวันตก ท่านทราบหรือไม่ว่าในเดือนกันยายนถึงเมษายน ดวงอาทิตย์สามารถอ้อมมาทางทิศใต้ได้ด้วย!!?? ปรากฏการณ์นี้เกิดมาจากสาเหตุที่วงจรของแกนโลกอยู่ในมุมเอียง และตำแหน่งของประเทศไทยตั้งอยู่เหนือแนวเส้นศูนย์สูตร แกนโลกนั้นเอี่ยงไปขวาเล็กน้อย ทำให้แสงแดดส่องมาที่ประเทศไทยในมุมองศาเฉียงลงเล็กน้อย ตลอดทั้งปีปริมาณความร้อนที่รับจึงไม่สม่ำเสมอ (ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพระอาทิตย์อ้อมใต้ได้ที่ https://dsignsomething.com/2016/03/14/qa-พระอาทิตย์อ้อมใต้คืออ/)

Laksanasamrith, Ekkarach (2016,March). Q&A พระอาทิตย์อ้อมใต้คืออะไร ?
. Retrieved June 14, 2020 from https://dsignsomething.com/2016/03/14/qa-พระอาทิตย์อ้อมใต้คืออ/

ผลิตภัณฑ์ “Kool Guard” ใช้วัสดุผิวหน้าอยู่ 2 ชนิด คือ
1. คัลเลอร์บอน แผ่นเหล็กชุบสังกะสีเคลือบสี มีสีขาว food grade นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ไม่ก่อให้เกิดเชื้อรา และลดการเกาะตัวของฝุ่น
2. แผ่นไฟเบอร์ซีเมน มีคุณสมบัติไม่บิดตัว ไม่ผุกร่อน ปราศจากพวกปลวก แมลง มอดต่างๆมารบกวน เหมาะกับการติด wall paper
สนใจสอบถามรายละเอียด ได้ที่
02-4206125 หรือ inbox มาคุยกับเราที่ Facebook Messenger @koolcot


บ้าน Koolcot รุ่น Koolcare บ้านสำเร็จรูป universal design





บ้านสำเร็จรูป Koolcot รุ่น Koolcare จาก Studio serie (พื้นที่ใช้สอย 17+8.8 ตรม) ใช้วัสดุฉนวนกันความร้อน Polyurethane ผลิตจากกระบวนการผลิตแบบ Foam in Place ผสมผสานกับการออกแบบโดยคำนึงถึงรายละเอียดสำคัญที่จำเป็นต่อผู้สูงพื้นที่ใช้สอยของ Koolcare ถูกปรับให้รองรับการใช้งานของรถเข็น ภายในห้องน้ำถูกขยายและติดตั้งด้วยราวจับเพื่อรองรับคนสำคัญในทุกอริยบท อากาศภายในหมุนเวียนด้วยระบบ air ventilation ที่สามารถกรองฝุ่น PM2.5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้คนที่คุณรักปลอดภัยจากมลภาวะ......สนใจรายละเอียด inbox มาแชร์ความต้องการกับเรา 

แผ่นฉนวนกันร้อน Koolguard by Koolcot





บ้านเลี่ยงแดดไม่ได้ แต่หยุดความร้อนได้ด้วยนวัตกรรมแผ่นฉนวนกันความร้อน Koolguard โดย Koolcot
ผนังของบ้านส่วนใหญ่ถูกสร้างจากคอนกรีตและไม่ได้ออกแบบไว้ป้องกันการถ่ายเทพลังงานความร้อนที่มาจากแสงอาทิตย์ที่ส่องประทะภายนอกตัวบ้าน เมื่อฤดูร้อนมาถึง ปริมาณความร้อนที่สะสมภายในบ้านก็ยิ่งสูงขึ้นจนแทบอยู่อาศัยไม่ได้โดยปราศจากเครื่องปรับอากาศ ที่ต้องทำงานหนักขึ้นส่งผลทำให้โดนเก็บค่าไฟฟ้ามากกว่าช่วงอื่นๆของปี และแต่ละปีมีแนวโน้มที่ค่าไฟจะสูงกว่าปีก่อนๆในช่วงเวลาเดียวกัน

แผ่นฉนวนกันความร้อนของ Koolcot ถูกผลิตขึ้นเพื่อแก้ปัญหาและรับกับขนาดผนังตามที่ลูกค้ากำหนด ด้วยกระบวนการติดตั้งที่ง่ายและรวดเร็วโดยทีมช่างของเรา เพียงนำแผ่นฉนวน Koolcot ไปประกบยึดติดกับผนังเดิมบริเวณทิศตะวันตกหรือพื้นที่แสงแดดส่องมาถึง

แผ่นฉนวนกันความร้อนโพลียูเรเทนกัน ความร้อน กันปลวก กันชื้น กันแมลง กันเชื้อรา ไม่ติดไฟ แข็งแรง ติดตั้งรวดเร็ว

หยุดความร้อนไว้นอกบ้านประหยัดเงินด้วยแผ่นฉนวนบ้าน Koolcot อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ในความภูมิใจของบริษัท โมดูล่าร์คอมพาวด์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญห้องเย็นสำเร็จรูปฉนวนโพลียูลิเทนมากว่า 35 ปี สนใจติดต่อที่ 02-420-6125
รายละเอียดเพิ่มเติม
https://web.facebook.com/koolcot/photos/a.272760730046615/586461352009883/?type=3&__tn__=K-R

Tuesday, July 21, 2020

ตู้แช่แข็ง VS ห้องเย็น





ตู้แช่แข็ง VS ห้องเย็น 
comparison infographic

        ปัจุบันตู้แช่แข็งได้รับความนิยมแพร่หลายในธุรกิจขนาดเล็ก ไม่ว่าด้วยขนาดที่เหมาะสมกับธุรกิจ การเข้าถึงง่าย ซื้อง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก ราคาไม่สูงเมื่อเทียบกับราคาห้องเย็น เจ้าของกิจการสามารถซื้อเพิ่มได้ทันทีเมื่อต้องการเพิ่มพื้นที่รองรับการขยายกำลังผลิต แต่สำหรับเจ้าของธุรกิจที่อยู่ระหว่างกำลังพัฒนาไปสู่ขนาดอุตสาหกรรมที่ใหญ่กว่าเดิม การใช้ตู้แช่เย็นนั้นเหมาะสมกับศักยภาพการผลิตและความต้องการของตลาดหรือไม่? 
    
        หากเราจะมาทำการเปรียบระหว่างตู้แช่แข็งขนาด 0.885 x 1.15 x 0.748 ม (0.76 ตรม ใน spec ระบุความจุที่ 12.5คิว) และห้องเย็นขนาด 3 x3 x 3 ม (27 ตรม)โดยพิจารณาเรื่องราคา, ปริมาตร, ค่าไฟ ซึ่งสิ่งที่ปรากฏเบื้องต้นทำให้เห็นช่องว่างระหว่างตู้แช่และห้องเย็นในทุกด้าน ตู้แช่มี scale ที่เล็กกว่าในทุกมิติโดยราคาที่สูงกว่าของห้องเย็นอาจทำให้เจ้าของธุรกิจตัดสินใจมองข้ามความประหยัดและคุ้มค่าในระยะยาวที่ห้องเย็นมอบให้ คุณต้องใช้เงินจำนวน 430,000 บาท เพื่อซื้อตู้แช่ปริมาตร 0.76 ตร.ม. จำนวน 35 ตู้ ถึงจะได้ปริมาตรเท่ากับห้องเย็นหนึ่งห้อง โดยต้องเสียพื้นที่บางส่วนภายในตู้แช่ไปกับระบบทำความเย็น ถ้าใช้ตู้แช่ 35 ตู้ ในแต่ละเดือนจะต้องเสียค่าไฟฟ้าประมาณ 14,000 บาท ในขณะที่ค่าไฟฟ้าของห้องเย็นจะตกอยู่ที่ 5,500 บาท ซึ่งจะเท่ากับค่าไฟรายเดือนที่ต้องจ่ายสำหรับตู้แช่จำนวน 13-14 ตู้ 

        การใช้ตู้แช่จำนวนเยอะๆนอกจากจะกินพลังงานมากแล้วยังก่อให้เกิดความยุ่งยากในการบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงและเวลาที่เสียสามารถก่อให้เกิดความรำคาญใจและความไม่ราบรื่นในการบริหารธุรกิจ สุดท้ายนี้บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพแต่ชี้ให้เห็นถึงความเหมาะสมและความประหยัดคุ้มค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤติ covid19 อยากให้ทุกท่านฟันฝ่าและก้าวไปข้างหน้าด้วยกันโดยสวัสดิภาพทั้งสุขภาพและธุรกิจ 

        



by Admin (Skonworn Y.)

Sunday, July 19, 2020

จำเป็นต้องรู้ด้วย? ตอน แผ่นฉนวนกันความร้อนสำหรับงานผนังและหลังคา (Part 1/2)

จำเป็นต้องรู้ด้วย? 

แผ่นฉนวนกันความร้อนสำหรับงานผนังและหลังคา (Part 1/2) 


(ผมขออนุญาตแปลบทความน่าสนใจที่ถูกเลือกมาเผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับคนอื่นๆที่กำลังหาข้อมูลอยู่ ต้องขออภัยที่อาจจะแปลให้ตรงตัวตามต้นฉบับไม่ได้ทั้งหมดเพราะต้องคำนึงถึงการใช้ภาษาไทยที่คนทั้วไปอ่านรู้เรื่องด้วย บางส่วนอาจมีการตัดออก เพิ่ม เปลี่ยนแปลงเพื่อความเหมาะสม การใช้ google translate อาจช่วยประหยัดเวลา แต่อาจจะอ่านไม่รู้เรื่องมากกว่าบทความที่ผมแปล ท้ายนี้ยินดีรับฟังทุกความเห็นและคำติชมเพื่อนำไปปรับใช้ครั้งต่อไป) 




เนื้อหาต่อไปนี้เกี่ยวกับ sandwich panels งานผนังและหลังคาฉนวนสำหรับ entry level ซึ่งนำเสนอเนื้อหาสาระและข้อมูลในหลายแง่มุมที่เกี่ยวข้อง รวมถึงวิธีการขนส่ง การเคลื่อนย้าย ฯลฯ 


  1. THE BASICS แผ่นฉนวนกันความร้อนคืออะไร
  2. การใช้แผ่นฉนวนกันความร้อน
  3. แผ่นฉนวนกันความร้อนชนิดต่างๆ 

        3.1 หลังคาฉนวนกันความร้อน

3.2 หลังคาฉนวนกันความร้อนระบบ ECO

3.3 ผนังฉนวนกันความร้อน

3.4 ฉนวนกันความร้อนสำหรับห้องเย็น

    4. ส่วนประกอบแผ่นฉนวนกันความร้อน: ภายนอก

4.1 วัสดุภายนอก

4.2 ชั้นเคลือบผิว

    5. ส่วนประกอบแผ่นฉนวนกันความร้อน: ไส้ใน

5.1 Polyurethane (PUR)

5.2 Polyisocyanurate (PIR)

5.3 ฉนวนใยหิน

    6. การขนส่งแผ่นฉนวนกันความร้อน

    7. การเก็บรักษาแผ่นฉนวนกันความร้อน

    8. การยกแผ่นฉนวนกันความร้อน

    9. การตัดแผ่นชนวนกันความร้อน

    10. การติดตั้งหลังคาฉนวนกันความร้อนอย่างเหมาะสม

10.1 การเรียงแผ่นชนวนหลังคากันความร้อน

10.2 การซ้อนรอยต่อตามแนวขวาง

10.3 การจบงานบริเวณชายคา

    11. ข้อตกลงร่วมกันให้ sandwich panel เป็น self-supporting sandwich panel elementsโดย EU Norm 14509

    12. การแบ่งประเภทระดับการต้านไฟ และการออกกฏหมายเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย


1. THE BASICS แผ่นฉนวนกันความร้อนคืออะไร


Sandwich panels ประกอบไปด้วยแผ่นที่เรียงญซ้อนกันเป็นชั้น เสมือนแซนวิชที่มีแผ่นขนมปังประกบอยู่ด้านนอกโดยแต่ละชั้นจะถูกยึดติดไว้ด้วยกัน  เรียกว่าแผ่นคอมโพซิท

แผ่นชนวนกันความร้อน แผ่นคอมโพซิท หรือแผ่นแซนด์วิชมีหลายชนิดและรูปแบบ โดยใช้แผ่นเหล็กชุบสังกะสีสำหรับผิวนอกและผิวด้านใน บ้างใช้อลูมิเนียมบางๆ สแตนเลส หรือ GRP (ไฟเบอร์กลาส) สำหรับป้องกันความเสียหายต่อชั้นกลางที่เป็นวัสดุฉนวน เช่น โพลี่ยูรีเทน (PUR), โพลีซิโอไซยานูเรท (PIR) และแร่ใหญ่หิน (Rock Wool) 


2. การใช้แผ่นฉนวนกันความร้อน

แผ่นฉนวนกันความร้อนถูกใช้ในอุตสากรรมต่างๆมากมาย เช่น อุตสาหกรรมการบิน อุตสาหกรรมรถยนต์และ อุตสาหกรรมก่อสร้าง เพราะคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับการใช้เพื่อแก้ปัญหาด้านเวลา ลดค่าใช้จ่าย และน้ำหนักเบา สามารถนำมาใช้กับงานผนัง งานฝ้า และงานหลังคาด้วยขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก

ด้วยคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น ทุกวันนี้แผ่นฉนวนกันความร้อนเป็นวัสดุก่อสร้างน้ำหนักเบาที่ได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับการก่อสร้างอาคารโรงเรือน หลังคาฉนวนสำหรับที่พักอาศัย วัสดุกันเสียง วัสดุผนังมวลเบา เพราะคุณสมบัติที่ไม่ลามไฟโดยบ่อยครั้งจะถูกใช้เป็นวัสดุป้องกันอัคคัภัย


3. แผ่นฉนวนกันความร้อนชนิดต่างๆ 

3.1 หลังคาฉนวนกันความร้อน

ฉนวนหลังคาส่วนมากจะถูกนำไปใช้ในลักษณะฉนวนมุงหลังคาบ้าน มีแนวสันสูง (high ridges) เป็นลักษณะเด่น ช่วยเสริมโครงสร้างให้มีความแข็งแรงมากขึ้นเพียงพอที่จะแบกรับน้ำหนักตัวเองและรับน้ำหนักของหิมะ (ในต่างประเทศ) หรือต้านทานแรงกำลังลม ส่วนแนวสันต่ำ (low ridges) ที่อยู่ระหว่างแนวสันสูง เป็นตำแหน่งที่ใช้วัดความหนาของฉนวน มีส่วนที่ยื่นออกมาจากด้านข้างเรียกว่าปีก (overlaping flap) ทำหน้าที่ครอบเก็บรอยต่อระหว่างแผ่น


3.2 หลังคาฉนวนกันความร้อนระบบ ECO

เป็นวัสดุหลังคาแบบพิเศษ เรียกว่าวัสดุหลังคาอีโค โดยมากใช้ปิดคลุมใต้ชั้นกระดาษอะลูมิเนียม เป็นวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวซึ่งถูกกำหนดโดยกฏระเบียบการก่อสร้าง ข้อดีของหลังคา Eco คือ ใช้ป้องกันแอมโมเนียที่สามารถก่อให้เกิดผลเสียกับสภาพแวดล้อม ทำให้วัสดุแผ่นหลังคาอีโคเหมาะกับการใช้งานด้านปศุสัตว์และเกษตรกรรมเช่น โรงเลี้ยงสัตว์ และยุ้งข้าว

3.3 ผนังฉนวนกันความร้อน

ผนังฉนวนกันความร้อนไม่มีแนวสันยื่นออกเหมือนหลังคาฉนวน ใช้แนวโปรไฟล์เพื่อเสริมความแข็งแรงในการต่อแผ่นซึ่งสามารถทำได้โดย 1. ใช้วิธีเข้าลิ้นสอดเข้ากับร่องรอยต่อแล้วค่อยล็อคเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ช่วยพยุงโครงสร้างได้ดีขึ้น หรือ 2. นำแผ่นยึดไว้ด้วยสกรูและติดฉากครอบปิดรอยยึด

In detail: secret fixing


3.4 ฉนวนกันความร้อนสำหรับห้องเย็น

ฉนวนกันความร้อนสำหรับห้องเย็นแตกต่างจากแผ่นฉนวนทั่วไป โดยมีความหนาแน่นของฉนวนมากกว่าและวัสดุรอยต่อมีคุณภาพดีกว่า ทำให้เป็นวัสดุยอดนิยมในวงการอุตสาหกรรมแช่เย็นโดยเฉพาะอุตสากรรมอาหาร เพราะฉนั้นสารสำหรับชั้นเคลือบผิวจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค


 4. ส่วนประกอบแผ่นฉนวนกันความร้อน: ภายนอก

ผิวนอกของแผ่นฉนวนกันความร้อนประกอบด้วย ชั้นเคลือบหลายชั้นเพื่อป้องกันผิวจากสภาพแวดล้อมแบบต่างๆ เช่น รังสียูวีและการกัดกร่อน 



แต่ละชั้นเคลือบมีหน้าที่แตกต่างกัน สภาพแวดล้อมหน้างานเป็นสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาก่อนซื้อแผ่นฉนวนกันความร้อน เลือกวัสดุผิวที่มีชั้นเคลือบที่เหมาะสม วัสดุประกบฉนวนด้านนอกและในคือปราการชั้นแรกที่สัมผัสกับสภาพแวดล้อมภายนอก ผิวด้านนอกควรมีชั้นเคลือบกัน UV และควรเลือกชั้นเคลือบที่มีคุณสมบัติป้องกันการกัดกร่อนผิวด้านในที่มีโอกาสสัมผัสความเปียกชื้น

4.1 วัสดุภายนอก

ผิวประกบด้านนอกของแผ่นฉนวนกันความร้อนจะประกอบไปด้วยชั้นเคลือบผิวที่ถูกแสดงในตารางดังนี้


Material

Use

แผ่นเหล็ก 

โดยมากใช้ในกระบวนการผลิตแผ่นชนวนกันความร้อน เป็นวัตถุดิบที่มีความทนทานสูง ถูกเคลือบด้วยสังกะสีและเคลือบเพื่อป้องกันการกัดกร่อน

GRP

GRP หรือไฟเบอร์กลาสจะปรากฏอยู่ด้านล่างของแผ่นฉนวน ถูกใช้ในสภาวะแวดล้อมที่ทำให้เกิดการกัดกร่อนทางเคมีและจากความเค็ม

อลูมิเนียม 

อลูมิเนียม 

นำมาใช้ในบางครั้งแต่ไม่บ่อยนัก วัสดุชนิดนี้ป้องกันการกัดกร่อนจาก เรือและเคมีวัตถุนั้นจะถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรแต่ข้อเสียคือราคาสูง และสามารถขยายตัวเมื่ออยู่ในอุณหภูมิสูงซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาโครงสร้าง

สแตนเลส 

เจอไม่บ่อยนัก มีข้อดีคือสนิมไม่ขึ้น ปลอดภัยสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร อย่างไรก็ดีสแตนเลสมีราคาสูงมาก ต้องสั่งโรงงานผลิตในจำนวนมากๆ


ความหนาของวัสดุ 

ผิวประกบแผ่นฉนวนมีหลายขนาดให้เลือกแผนที่บางกว่าจะมีราคาถูกกว่า แต่อาจไม่เหมาะกับการใช้งาน ความหนาควรอยู่ระหว่าง  0.4 มิลลิเมตร และ 0.6 มิลลิเมตร ซึ่งมีความแข็งแรงพอจนสามารถขึ้นไปเหยียบเดินโดยไม่สร้างความเสียหาย


การเคลือบสังกะสี

ผิวประกบด้านนอกเคลือบด้วยสังกะสีคุณภาพสูงเพื่อป้องกันการกัดกร่อน  


4.2 ชั้นเคลือบผิว

ชั้นเคลือบผิวป้องกันแผ่นชนวนจากการกัดกร่อนและรังสี UV ประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับคุณภาพซึ่งมีให้เลือกหลายระดับ คุณภาพวัสดุผิวสามารถพัฒนาได้สองวิธี คือ นำนวัตกรรมมาใช้ หรือ ใช้วิธีเพิ่มชั้นเคลือบให้หนาขึ้น ซึ่งโดยมาตรฐานผิวด้านนอกและในจะถูกเคลือบด้วยโพลีเอสเตอร์ขนาดความหนา 25 ไมครอน 

ตารางแสดงการเทียบความหนาของผิวเคลือบชนิดต่างๆ 

Pre-coated products

Standard thickness (μ)

Minimum time before appearance of white rust (in h)

Corrosion category

Standard polyester

25

360

RC2

Polyester with high durability

25

360

RC3

PVDF

25

500

RC4

PVDF

35

500

RC4

PUR-PA

50/55

700

RC5

Plastisol

100/200

1000

RC5

Plastic coated

100

500

/


ระดับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก:

Category

Description

C1 - very low


C2 - low

Surroundings with low pollution Agricultural areas

C3 - average

Urban and industrial areas, medium levels of sulfur dioxide pollution Coastal areas with low salt content – between 10 and 20 km from the sea

C4 - high

Industrial areas and coasts with medium salt content, between 3 and 10 km from the sea

C5 I – very high

Industrial and coastal areas with high humidity and aggressive environments

C5 M – very high

Coastal areas with high salt levels, between 1 and 3 km from the sea


ระดับผลกระทบจากปัจจัยภายใน

Category

Description

C1 – very low

Heated buildings with clean air: e.g. offices, shops, schools and hotels

C2 - low

Non-heated buildings where condensation is possible: store rooms, sports halls

C3 - medium

Production rooms with high humidity and reasonably high air pollution: e.g. food industry, laundries, breweries, dairy industry

C4 - high

Chemical installations, swimming pools, shipbuilding and coastal installations

C5 I – very high

Buildings or areas with constant condensation and high air pollution

C5 M – very high

Buildings or areas with constant condensation and high air pollution


ใช้ตารางด้านล่างช่วยพิจารณาในการเลือกชั้นเคลือบผิวภายในและภายในสำหรับแผ่นฉนวนกันความร้อน


5. ส่วนประกอบแผ่นฉนวนกันความร้อน: ไส้ฉนวน

สิ่งที่เติมเต็มคุณสมบัติความเป็นฉนวนให้กับแผ่นแซนวิชท์ให้สมบูรณ์คือไส้ฉนวนที่อยู่ระหว่างแผ่นประกบผิว ควรเลือกวัสดุและความหนาให้เหมาะสมลักษณะการใช้งาน

5.1 Polyurethane (PU) 

คือเรซิ่นสังเคราะห์ที่ถูกพัฒนาขึ้นในช่วง 1930s โดย Otto Bayer และทีมงานะจาก IG Farben โพลียูลิเทนถือว่าเป็นฉนวนกันความร้อนที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายที่สุดในอุตสาหกรรมต่างๆ


ตารางแสดงค่าความเป็นฉนวนของแผ่นฉนวนในขนาดความหนาต่างๆ

        5.2 Polyisocyanurate (PIR)

มีราคาสูงกว่า มีคุณสมบัติความเป็นฉนวนที่ดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับฉนวนโพลี่ยูรีเทน ดังนั้นความหนาของแผ่นฉนวนที่น้อยกว่าอาจจะให้ค่าความเป็นฉนวนที่เท่ากับแผ่นฉนวนโพลี่ยูรีเทนที่หนากว่า ฉนวน PIR จะมีค่าการต้านไฟมากกว่าฉนวนโพลี่ยูรีเทน ทำให้ทนอุณหภูมิสูงกว่า เป็นเวลายาวนานกว่า 

  5.3 ฉนวนใยหิน (Rock Wool)

ฉนวนใยหินเหมาะสมที่สุดสำหรับการใช้เป็นวัสดุป้องกันอัคคีภัย ความแตกต่างระหว่างฉนวนใยหินกับฉนวนโพลียูรีเทนและ PIR คือ ฉนวนใยหินไม่ติดไฟ แต่มีค่าความเป็นฉนวนที่ด้อยกว่า


ตารางแสดงค่าความเป็นฉนวนของฉนวนใหญ่หินในความหนาต่างๆ 







6. การจัดส่งแผ่นฉนวน

ถ้าตัดสินใจที่จะใช้แผ่นชนวนกันความร้อนเป็นส่วนหนึ่งในแผนก่อสร้าง ควรพิจารณาการจัดส่งเป็นลำดับต่อไปหลังการออกใบสั่งซื้อ ควรใส่ใจเรื่องความปลอดภัยด้านการขนส่งเป็นพิเศษในกรณีที่แผ่นมีขนาด 24 เมตรขึ้นไป โดยปกติแล้วแผ่นฉนวนจะมาเป็นชุด การวางแผ่นบนตัวเว้นระยะ ที่ทำจาก พลาสติค โฟม หรือไม้ในแนวนอนจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายระหว่างขนส่ง และอย่าลืมว่าตัวเว้นระยะควรมีความห่างที่เหมาะสม ผิวที่รองรับควรสอดคล้องกับรูปร่างผลิตภัณฑ์เช่น ถ้าผลิตภัณฑ์มีลักษณะแบน ผิวที่รองทับก็ควรจะต้องแบนตามรูปทรง

ระวังอย่าให้ยื่นเกินหน้าตัด 1 เมตร ใช้สายรัดที่มีความยาว 3 เมตร ขึ้นไปและระวังอย่าให้ผิวเกิดการกระแทกชนแผ่นอื่น พื้นที่ที่ใช้วางบนรถขนต้องโล่งปราศจากสิ่งกีดขวางและปกป้องจากสภาพอากาศภายนอกอย่างมิดชิด


 No Author’s name, no published date  given. What you need to know about insulated panels for walls and roofs. Retrieved July 20, 2020 from https://www.panelsell.co.uk/what-you-need-to-know-about-insulated-panels

Translated by Yamasathienra, Skonworn (2020, July)



Koolcot 1st VDO Presentation (2018)

บ้านสำเร็จรูป Koolcot วัสดุที่ใช้สร้าง:: ฉนวนกันความร้อน Polyurethan มีคุณสมบัติไม่อมน้ำ ทนทานไม่ลามไฟ มีความแข็งแรง อายุการใช้งานยาวนา...